หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เพลง หัวใจผูกกัน Athena Movie Project


เพลง หัวใจผูกกัน
ศิลปิน บอย โกสิยพงษ์

โดย
นางสาว สาธิมา จันทร์เพ็ญ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2  เลขที่ 9

เสนอ
อาจารย์ ภาวิณีย์ สุขไพบูลย์

เป็นส่วนหนึ่งของชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม
ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2556

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เพลง เพ้อต่อม By Best Friends

วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 วันวาเลนไทน์เกิดขึ้นเพื่อระลึกถึงนักบุญเซนต์วาเลนไทน์ที่แอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจนถูกจับขังและรับโทษ เพราะในยุคนั้นมีกฏหมายห้ามไม่ให้มีแต่งงานของพวกคริสเตียน ในยุคปัจจุบัน วันวาเลนไทน์ เป็นวันที่มีการแสดงถึงความรักความรู้สึกดีๆที่มีระหว่างกัน คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนม การ์ด รวมถึงกลอนเพื่อบอกความนัยให้แก่คนพิเศษของคุณ


วาเลนไทน์ วันดี มีแต่รัก
คนรู้จัก คนไหนที่ มีคู่หมาย
ขอให้รัก ทานทน จนวันตาย
ไม่เสื่อมคลาย ให้รักชื่น อยู่ยืนยาว

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[ข่าวลือ] เลอโนโวจะเปิดตัวมือถือตระกูล Nexus เน้นเจาะตลาดสหรัฐเป็นหลัก

Eldar Murtazin บล็อกเกอร์รัสเซียเจ้าของผลงานข่าวหลุดข่าวลือมากมาย ที่ระบุว่ากูเกิลจะเลิกทำมือถือ Nexus ในปี 2015 และเปลี่ยนไปทำ Google Play Edition แทน ทวีตว่า เลอโนโวซึ่งเพิ่งซื้อโมโตโรลาจากกูเกิล จะเปิดตัวหนึ่งในมือถือรุ่นสุดท้ายของตระกูล Nexus โดยบริษัทจะผลิตจำนวนมากและมุ่งเจาะตลาดสหรัฐ

ที่มา: @eldarmutazin , blognone.com

HTC M8 จะเป็นเรือธงรุ่นสืบทอดต่อจาก HTC One

แนวโน้มของ HTC ในปี 2014 ยังเดินหน้าสนับสนุนธุรกิจสมาร์ทโฟนอย่างเต็มที่ แม้จะประสบปัญาต่างๆมากมาย ซึ่งเรือธงในปีนี้อย่าง HTC M8 เห็นทีจะได้เปิดตัวในเร็วๆ นี้ พร้อมสีสันที่มีให้เลือกมากกว่าเดิม

อ่านเพิ่มเติม...

งานวิจัยไมโครซอฟท์ สู่การพัฒนาสมาร์ทโฟนแบตมหาอึด !


หนึ่งในความกังวลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนเห็นทีหนีไม่พ้นเรื่องของ “แบตเตอรี่” ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ผู้ใช้บ่นอุบกันเป็นแถวๆไม่ว่าจะใช้สมาร์ทโฟนยี่ห้อใดก็ตามโดยจากการกำหนดปัญหาสุดฮิตนี้นำมาสู่งานวิจัยของไมโครซอฟท์ที่ตั้งเป้าหมายพัฒนาสมาร์ทโฟนแบตสุดอึดขึ้นมาใช้จริง

อ่านเพิ่มเติม...

เฟซบุ๊กพัฒนาต้นแบบ cold storage เก็บข้อมูล 1 เพตะไบต์บนแผ่นบลูเรย์ 10,000 แผ่น


Jay Parikh รองประธานด้านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานของเฟซบุ๊กเปิดเผยที่งาน Open Compute Summit งานประชุมภายใต้โครงการ Open Compute (โครงการเปิดสเปกฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ริเริ่มโดยเฟซบุ๊ก) ว่าบริษัทกำลังพัฒนาต้นแบบระบบสตอเรจที่เก็บข้อมูลแล้วแทบไม่ต้องเข้าถึงอีกเลย (cold storage) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลสูงสุด 1 เพตะไบต์บนแผ่นบลูเรย์ 10,000 แผ่น และคาดว่าในอนาคตจะสามารถเพิ่มความจุได้เป็น 5 เพตะไบต์
Parikh กล่าวว่า ระบบนี้อาจถูกใช้เก็บรูปภาพและคลิปวิดีโอของผู้ใช้ที่ซ้ำซ้อนกันในกรณีที่เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันขึ้นมา ส่วนที่เลือกใช้แผ่นบลูเรย์แทนที่จะเป็นฮาร์ดไดร์ฟเนื่องจากสามารถลดต้นทุนสตอเรจเพื่องานดังที่กล่าวไปข้างต้นได้กว่าร้อยละ 50 และลดการใช้พลังงานได้กว่าร้อยละ 80 นอกจากนั้นยังมีโอกาสเก็บข้อมูลได้มากกว่าปัจจุบันเพราะผู้ผลิตแผ่นบลูเรย์สามารถที่จะเพิ่มพื้นที่ความจุลงไปในหนึ่งแผ่นได้อีก

อ่านเพิ่มเติม...

หน่วยการเรียนรู้ที่3.2 การสื่อสารข้อมูล

ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
               -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
                  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 
อ่านเพิ่มเติม...

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

IBM พบวิธีสร้างชิปด้วยกราฟีนและรักษาความเร็วไว้ นี่อาจจะเป็นอนาคตของอุปกรณ์พกพา


ในเชิงทฤษฏีแล้วชิปที่มีการใช้งานกราฟีนร่วมกับซิลิคอนนั้น ควรจะได้ความเร็วที่มากกว่าชิปที่ใช้ซิลิคอนเพียงอย่างเดียว แต่ว่าในทางปฏิบัติจริงๆ นั้นมีปัญหาอยู่บ้าง เมื่อกระบวนการผลิตนั้นทำให้กราฟีนเสียหาย และสูญเสียความเร็วที่ควรจะทำได้ แต่ดูเหมือนว่า IBM จะแก้ไขปัญหานี้เรียบร้อยแล้ว

Facebook เปิดตัวแอพ Paper ตามข่าว

ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า “Facebook กำลังทำแอพอ่านข่าวแบบ Flipboard” ล่าสุด Facebook ก็เปิดตัวแอพที่ว่าแล้วในชื่อ Paper


แอพนี้จะเป็นการนำ News Feed บน Facebook มาจัดแสดงใหม่พร้อมกับข่าวสารอื่นๆ การใช้งานแอพนี้จะเน้นไปที่การปัดหรือ Swipe อย่างเดียว เพราะ Paper นั้นออกแบบมาแบบที่ไม่มีปุ่มให้กด ลองไปดูจากหน้าเว็บเขาเลยดีกว่า https://www.facebook.com/paper
อ่านเสร็จแล้วก็อย่าเพิ่งรีบไปหาโหลดในApp Store เพราะว่าแอพ Paper นั้น Facebook เขาจะเปิดให้ดาวน์โหลดได้ในวันจันทร์ที่  3 ก.พ. นี้ และจะมีเฉพาะ iPhone ที่ทำงานบน iOS7 ที่สำคัญเปิดให้ใช้งานเฉพาะในสหรัฐอเมริกาก่อน

หน่วยการเรียนรู้ที่3.5 ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
 
การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน  (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง

สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่3.4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์

INTERNET
         อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า

INTRANET
         ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น

EXTRANET
              เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่3.4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์

LAN : Local Area Network

           เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
MAN : Metropolition Area Network

           เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
WAN : Wide Area Network

                 เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

หน่วยการเรียนรู้ที่3.3 อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เราท์เตอร์(router)
             เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สวิตช์(switch)
              คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล 
ฮับ(hub)

             หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง


 

หน่วยการเรียนรู้ที่3.1 ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก คือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป

       การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง


       การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

หน่วยการเรียนรู้ที่3.1 ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลเป้นการถ่ายทอดความรู้  ความคิด  ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง  โดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นช่องทางในการสื่อสารเช่น  การสื่อสารด้วนท่าทาง  ถ้อยคำ  สัญลักษณ์  ภาพวาด  จดหมาย  โทรเลข  เป็นต้น  ต่อมาการสื่อสารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มา ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก  รวดเร็ว  รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

จีนเปิดตัวระบบปฏิบัติการแห่งชาติ COS พัฒนาจากลินุกซ์ ทำงานได้ทั้งบนพีซี มือถือ แท็บเล็ต


สถาบันซอฟต์แวร์แห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ของจีน (Institute of Software at the Chinese Academy of Sciences – ISCAS) ร่วมกับบริษัท Shanghai Liantong เปิดตัวระบบปฏิบัติการของคนจีนชื่อ China Operating System (COS)
ระบบปฏิบัติการตัวนี้พัฒนาจากลินุกซ์ แต่ส่วนที่เพิ่มเข้ามาเป็นซอฟต์แวร์ปิดเพื่อความปลอดภัยที่แข็งแรง และปรับการทำงานให้เหมาะสมกับคนจีน เช่น การป้อนข้อความภาษาจีน การเชื่อมโยงกับบริการบนอินเทอร์เน็ตในจีน เป้าหมายของ COS คือการสร้างระบบปฏิบัติการของคนจีนเพื่อทำลายการผูกขาดเทคโนโลยีของต่างชาติ
ตามข่าวบอกว่ามันสามารถทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์มทั้งบนมือถือ แท็บเล็ต และพีซี อย่างไรก็ตาม จากวิดีโอสาธิตการทำงานของ COS บนมือถือ HTC จะเห็นว่ามันหน้าตาเหมือน Android มาก (ISCAS บอกว่าไม่ใช่ Android) แถมยังมีหน้าตาคล้ายกับภาพหลุดระบบปฏิบัติการของ HTC มาก (ในงานแถลงข่าวไม่มี HTC มาเกี่ยวข้อง และโฆษกของ HTC ก็ไม่ตอบคำถามเรื่องนี้)
ที่มา -Blognone By: mk ZDNet, Engadget

หน่วยการเรียนรู้ที่2.4 การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน

 

โดยปกติเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆวิธีอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อโดย ตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ พอสรุปวืธการเลือกของซอฟต์แวร์ได้ดังนี้


 ก. แบบสำเร็จรูป(Package หรือ Ready -made Software)
      แบบนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว และผู้ใช้นำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที โดยซื้อได้ทั้งจากตัวแทนบริษัทและเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต
 ข.แบบว่าจ้างทำ(Customized หรือ Tailor-made Software)  
       ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัท หน่วยงาน ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็สามารถว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานของตน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ที่แพงกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ค. แบบทดลองใช้(Shareware)
      บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ มักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจมีกำหนดเวลาในการทดลองใช้ เช่น 30 วัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ง. แบบใช้งานฟรี(Freeware)
    เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้งานฟรี มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กมีให้ดาวน์โหลดบนอินเตอร์เน็ต แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของหรือบริษัทผู้ผลิตอยู่ บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้

จ. แบบโอเพ่นซอร์ส(Public-Domain/-Open Sourse)
    เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ฉ. ระบบปฏิบัติการ(OS-Operating System)
     เป้นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ

หน่วยการเรียนรู้ที่2.2 ซอฟต์แวร์ระบบ และหน่วยการเรียนรู้ที่2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์


ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม...
                       
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม...

หน่วยการเรียนรู้ที่2.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์


ความหมายของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานของคนทำงานได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีเพียงเฉพาะตัวอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์อยู่เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นได้เพียงวัตถุชิ้นหนึ่งเท่านั้น การที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการสั่งให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับในที่นี่จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ ลักษณะย่อยของซอฟต์แวร์แต่ละประเภท การจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน และการพิจารณาซอฟต์แวร์ตามหลักของลิขสิทธิ์
อ่านเพิ่มเติม