INTERNET
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า
INTRANET
ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น
EXTRANET
เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557
หน่วยการเรียนรู้ที่3.4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
LAN : Local Area Network
เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
MAN : Metropolition Area Network
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
WAN : Wide Area Network
เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
หน่วยการเรียนรู้ที่3.3 อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เราท์เตอร์(router)
เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ฮับ(hub)
เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สวิตช์(switch)
คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
หน่วยการเรียนรู้ที่3.1 ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก คือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
หน่วยการเรียนรู้ที่3.1 ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลเป้นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นช่องทางในการสื่อสารเช่น การสื่อสารด้วนท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อสารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มา ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557
จีนเปิดตัวระบบปฏิบัติการแห่งชาติ COS พัฒนาจากลินุกซ์ ทำงานได้ทั้งบนพีซี มือถือ แท็บเล็ต
สถาบันซอฟต์แวร์แห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ของจีน (Institute of Software at the Chinese Academy of Sciences – ISCAS) ร่วมกับบริษัท Shanghai Liantong เปิดตัวระบบปฏิบัติการของคนจีนชื่อ China Operating System (COS)
ระบบปฏิบัติการตัวนี้พัฒนาจากลินุกซ์ แต่ส่วนที่เพิ่มเข้ามาเป็นซอฟต์แวร์ปิดเพื่อความปลอดภัยที่แข็งแรง และปรับการทำงานให้เหมาะสมกับคนจีน เช่น การป้อนข้อความภาษาจีน การเชื่อมโยงกับบริการบนอินเทอร์เน็ตในจีน เป้าหมายของ COS คือการสร้างระบบปฏิบัติการของคนจีนเพื่อทำลายการผูกขาดเทคโนโลยีของต่างชาติ
ตามข่าวบอกว่ามันสามารถทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์มทั้งบนมือถือ แท็บเล็ต และพีซี อย่างไรก็ตาม จากวิดีโอสาธิตการทำงานของ COS บนมือถือ HTC จะเห็นว่ามันหน้าตาเหมือน Android มาก (ISCAS บอกว่าไม่ใช่ Android) แถมยังมีหน้าตาคล้ายกับภาพหลุดระบบปฏิบัติการของ HTC มาก (ในงานแถลงข่าวไม่มี HTC มาเกี่ยวข้อง และโฆษกของ HTC ก็ไม่ตอบคำถามเรื่องนี้)
ที่มา -Blognone By: mk ZDNet, Engadget
หน่วยการเรียนรู้ที่2.4 การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
โดยปกติเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆวิธีอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อโดย ตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ พอสรุปวืธการเลือกของซอฟต์แวร์ได้ดังนี้
ก. แบบสำเร็จรูป(Package หรือ Ready -made Software)
แบบนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว และผู้ใช้นำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที โดยซื้อได้ทั้งจากตัวแทนบริษัทและเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต
ข.แบบว่าจ้างทำ(Customized หรือ Tailor-made Software)
ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัท หน่วยงาน ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็สามารถว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานของตน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ที่แพงกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ค. แบบทดลองใช้(Shareware)
บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ มักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจมีกำหนดเวลาในการทดลองใช้ เช่น 30 วัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ง. แบบใช้งานฟรี(Freeware)
เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้งานฟรี มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กมีให้ดาวน์โหลดบนอินเตอร์เน็ต แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของหรือบริษัทผู้ผลิตอยู่ บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้
จ. แบบโอเพ่นซอร์ส(Public-Domain/-Open Sourse)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ฉ. ระบบปฏิบัติการ(OS-Operating System)
เป้นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
ก. แบบสำเร็จรูป(Package หรือ Ready -made Software)
แบบนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว และผู้ใช้นำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที โดยซื้อได้ทั้งจากตัวแทนบริษัทและเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต
ข.แบบว่าจ้างทำ(Customized หรือ Tailor-made Software)
ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัท หน่วยงาน ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็สามารถว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานของตน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ที่แพงกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ค. แบบทดลองใช้(Shareware)
บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ มักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจมีกำหนดเวลาในการทดลองใช้ เช่น 30 วัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ง. แบบใช้งานฟรี(Freeware)
เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้งานฟรี มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กมีให้ดาวน์โหลดบนอินเตอร์เน็ต แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของหรือบริษัทผู้ผลิตอยู่ บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้
จ. แบบโอเพ่นซอร์ส(Public-Domain/-Open Sourse)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ฉ. ระบบปฏิบัติการ(OS-Operating System)
เป้นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
หน่วยการเรียนรู้ที่2.2 ซอฟต์แวร์ระบบ และหน่วยการเรียนรู้ที่2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม...
อ่านเพิ่มเติม...
หน่วยการเรียนรู้ที่2.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ความหมายของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานของคนทำงานได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีเพียงเฉพาะตัวอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์อยู่เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นได้เพียงวัตถุชิ้นหนึ่งเท่านั้น การที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการสั่งให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับในที่นี่จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ ลักษณะย่อยของซอฟต์แวร์แต่ละประเภท การจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน และการพิจารณาซอฟต์แวร์ตามหลักของลิขสิทธิ์
อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)